หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ จิตตคฤหบดี
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๓. จิตตคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นธรรมกถึก

จิตตคฤหบดี เกิดในสกุลเศรษฐี ที่เมืองมัจฉิกสัณฑะ แคว้นมคธ เมื่อบิดาล่วงลับไป แล้ว เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีในเมืองนั้นแทนบิดา

สร้างวัดอัมพาตการาม
สมัยนั้น พระมหานามเถระ ผู้เป็นพระภิกษุองค์หนึ่ง ในกลุ่มพระปัญจวัคคีย์ ได้ไปที่ เมืองมัจฉกิสัณฑะ จิตตคฤหบดี เห็นปฏิปทาอิริยาบถของท่าน สงบเสงี่ยมเรียบร้อย จึงเกิด ศรัทธาเลื่อมใส รับบาตรของพระเถระ แล้วนิมนต์มายังเรือนของตน ถวายภัตตาหารให้ท่านฉัน เสร็จแล้ว นิมนต์ท่านไปยังสวนของตน ชื่ออัมพาตกะ ได้ถวายสวนนั้น สร้างกุฏีถวายเป็น สังฆาราม ชื่อว่า “อัมพาตการาม” นิมนต์ให้ท่านอยู่จำพรรษา ณ ที่นั้น และอาราธนาให้ท่าน ไปรับอาหารบิณฑบาต ที่เรือนของตนทุกวัน พระเถระได้แสดงธรรมโปรด ตามสมควรแก่ อุปนิสัยของท่านจิตตคฤหบดี และในไม่ช้าท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอนาคามี

เนื่องจากท่านจิตตคฤหบดี มิได้เฝ้ากราบถวายบังคมพระบรมศาสดา เป็นเวลานานแล้ว จึงคิดที่จะไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ได้ป่าวประกาศแก่ชนชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑะว่า “ผู้ ประสงค์จะร่วมเดินทาง ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากับเรา ก็จงเตรียมเภสัชทั้งหลาย มีน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และของเคี้ยวของฉันเป็นต้น ให้พร้อมแล้วร่วมไปด้วยกัน” ได้มีประชาชน เป็นจำนวนมาก ประมาณ ๒๐๐๐ คน ร่วมเดินทางไปกับท่านจิตตคฤหบดี

เชี่ยวชาญในการแสดงธรรม
จิตตคฤหบดี เมื่อเดินทางมาถึงพระอารามแล้ว พาบริษัทบริวารที่ติดตามมาด้วย เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ถวายทานแด่พระพุทธองค์ และพระภิกษุสงฆ์ ตลอดระยะเวลาครึ่ง เดือน วัตถุทานทั้งหลาย ที่นำมาจากบ้านเรือนของตน และของประชาชนที่ติดตามมา ก็หมดไป เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ยังคงเหลืออีกมากกว่าครึ่ง ก่อนที่ท่านจิตตคฤหบดีพร้อมคณะ จะกราบ ทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกลับสู่บ้านเมืองของตน ได้น้อมถวายวัตถุทานเหล่านั้นทั้งหมด แก่ พระภิกษุสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่การบริโภคใช้สอย

จิตตคฤหบดี เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง ถึงพร้อมด้วยศีล และ โภคะ มีอัธยาศัยเอื้อเฟื้อแก่คนทั่ว ๆ ไป สงเคราะห์บริษัทด้วยวัตถุและธรรมะ เป็นผู้ฉลาดใน การแสดงธรรม

ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์ยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสกทั้ง หลาย ในฝ่าย ผู้เป็นธรรมกถึก

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- +++ 


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก