หน้าหลัก พระสงฆ์ พระอสีติมหาสาวก พระมหาโกฏฐิตเถระ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
ประวัติ พระมหาโกฏฐิตเถระ
 
บุพกรรมในอดีต

พระมหาโกฎฐิตเถระ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูล ที่มีโภคสมบัติมาก ในกรุงหังสวดี สมัยต่อๆ มา กำลังฟังธรรมกถา ของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา จึงกระทำกุศลกรรม ให้ยิ่งยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น กระทำกุศลจนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก

สมัยพุทธกาล
ในพุทธุปบาทกาลนี้ พระมหาโกฏฐิตเถระ มาบังเกิดเป็น บุตรของอัสสลายนมหาพราหมณ์ กับนางจันทวดีพราหมณี ในนครสาวัตถี เมื่อเจริญเติบโตแล้ว ได้ศึกษาศิลปวิทยาตามลัทธิของพราหมณ์ จนจบไตรเพท

เมื่อพระศาสดาเสด็จจาริกประกาศพระศาสนาตามที่ต่าง ๆ ได้ทรงสั่งสอนอัสสลายนมหาพราหมณ์ ผู้เป็นบิดาของท่านให้ละทิฏฐิมานะ ยอมตนเป็นอุบาสกแล้ว โกฏฐิตมาณพ ผู้เป็นบุตรเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

ขออุปสมบทในพุทธศาสนา
วันหนึ่ง ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เกิดศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย จึงได้ออกบวชในพระพุทธศาสนา มีท่านพระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาโมคคัลลานะเป็นพระอาจารย์

บรรลุพระอรหันต์ขณะผลัดเปลี่ยนผ้าสาฎก
ตามประวัติท่าน กล่าวว่า เมื่อเวลาปลงผม ท่านได้พิจารณาในวิปัสสนากรรมฐาน พอผลัดผ้าสาฎก สำหรับนุ่งห่มของคฤหัสถ์ออก ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ๔ วิชชา ๘ และวิโมกข์ ๓

เอตทัคคะในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔
พระมหาโกฏฐิตะนั้น เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ไม่ว่าจะเข้าไปหาพระเถระผู้ใหญ่ เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา มักถามปัญหาในปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ เป็นประจำ เพราะท่านชำนาญในเรื่องนี้มาก ต่อมาพระศาสดาทรงทำมหาเวทัลลสูตรให้เป็นต้นเหตุ แล้วทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ (ปฏิสมภิทปปตตานํ)

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
พระมหาโกฏฐิตเถระ เอตทัคคะในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔


ย้อนกลับ เนื้อหา : จาก อสีติมหาสาวก : พลเรือตรี รองศาสตราจารย์ ทองใบ ธีรานันทางกูร
(http://gold58-disciplesofthebuddha.blogspot.com)

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก