หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ พระสาคตเถระ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๔๐. พระสาคตเถระ เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญเตโชสมาบัติ

พระสาคตะ เกิดในวรรณะพราหมณ์ ในเมืองสาวัตถี เมื่อเจริญเติบโตขึ้นมาได้ฟัง พระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดา แล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใส กราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทใน พระพุทธศาสนา เมื่อบวชแล้วได้บำเพ็ญสมาณธรรมจนได้บรรลุสมาบัติ ๘ ฝึกฝนจนมีความ ชำนาญในองค์ฌานนั้น ที่ท่านมีความชำนาญเป็นพิเศษก็คือการเข้าเตโชสมาบัติ

แสดงฤทธิ์ช่วยชาวบ้าน
สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดา เสด็จจาริกไปตามคามนิคม และชนบทต่าง ๆ พระสาคตะได้ ตามเสด็จไปด้วย พระพุทธองค์เสด็จถึงท่าเรืออัมพะ ซึ่งอยู่ที่หมู่บ้านภัททวติกะ ใกล้พระนครโก สัมพี แคว้นเจตี ในบริเวณใกล้ ๆ ท่าเรือนั้น มีอาศรมฤาษีชฏิลตั้งอยู่ และชฏิลนั้น นับถือบูชาพญา นาค ชื่อว่าอัมพติฏฐกะ ซึ่งเป็นสัตว์มีพิษ และมีฤทธิ์อำนาจมากกว่าพญานาคทั่วไป สามารถ บันดาลให้ดินฟ้าอากาศ เป็นไปตามต้องการได้ ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน เพราะฝนไม่ตกต้องตาม ฤดูกาล อันเป็นผลมาจากการบันดาลของพญานาคนั้น

พระสาคตเถระ ทราบความเดือดร้อนของชาวบ้าน เกิดความสงสารจึงได้ช่วยเหลือ ด้วย การเข้าไป ในโรงไฟที่พญานาคอาศัยอยู่ นั่งขัดสมาธิอธิษฐานจิต ในที่ไม่ไกลจากพญานาค ทำให้ พญานาคโกรธ แล้วพ่นควันพิษใส่ท่าน ท่านก็เข้าเตโชสมาบัติ ให้เกิดควันไฟใส่พญานาค บันดาล ให้เกิดความเจ็บปวดแก่พญานาค

ทั้งพระเถระและพญานาค ได้แสดงอิทธิฤทธิ์เข้าต่อสู้กัน หลายประการ จนในที่สุดพญานาคก็สิ้นฤทธิ์ ไม่สามารถจะทำอะไรพระเถระได้ แต่กลับถูกพระเถระกระทำจนได้รับความเจ็บปวดบอบช้ำ และในที่สุดก็เลิกละ การกลั่นแกล้งให้ประชาชนเดือดร้อน ฝนตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านทำไร่ทำนาได้ดี มีความสุขกายสุขใจ และไม่ลืมที่จะระลึกถึงคุณของพระเถระที่ให้การช่วยเหลือ

ข่าวสารการที่พระสาคตเถระปราบพญานาค ได้ร่ำลือกันไปทั่วทั้งเมือง เมื่อพระพุทธองค์ ประทับอยู่ ณ ภัททวติกาคาม ตามสมควรแก่พระอัธยาศัยแล้ว พระพุทธองค์เสด็จไปยังพระนคร โกสัมพี และพระสาคตเถระ ก็ตามเสด็จไปด้วยชาวเมืองโกสัมพี ได้ถวายการต้อนรับพระบรม ศาสดา อย่างสมพระเกียรติ และในส่วนของพระสาคตเถระ ชาวประชาพากันคิดว่า จะถวายสิ่ง ของที่พระเถระชอบที่สุด และหายากที่สุด

ในขณะที่เที่ยวปรึกษากันอยู่ว่า จะถวายสิ่งใดดีนั้น พระฉัพพัคคีย์ ได้แนะนำแก่ชาวเมืองว่า “สิ่งที่พระภิกษุชอบที่สุดและหายากที่สุดก็คือ สุราอ่อน ๆ ที่มีสีแดง เหมือนเท้านกพิราบ”

พระเถระเมาเหล้า
เช้าวันรุ่งขึ้น พระสาคตเถระ เข้าไปบิณฑบาตในเมืองโกสัมพี ชาวเมืองทั้งหลายต่างพา กันถวายสุราให้ท่านดื่ม ขณะนั้น ยังไม่มีพุทธบัญญัติห้ามภิกษุดื่มสุรา พระเถระจึงดื่มสุรา ที่ชาว เมืองถวาย แห่งละนิดละหน่อย เพื่อเป็นการรักษาศรัทธาของชาวเมือง ปรากฏว่ากว่าที่ พระ เถระจะเดินบิณฑบาตตลอดหมู่บ้าน ก็ทำเอาท่านมึนเมาจนหมดสติ ล้มลงที่ประตูเมือง

ต้นบัญญัติสิกขาบทว่าด้วยการดื่มน้ำเมา
พระบรมศาสดา เสด็จมาพบท่าน นอนสลบหมดสติอยู่อย่างนั้น จึงรับสั่งให้ภิกษุช่วยกัน นำท่านกลับที่พัก เมื่อท่านบรรเทาความเมากลับได้สติแล้ว พระพุทธองค์ทรงติเตียน ในการกระทำ ของท่าน และทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามภิกษุดื่มสุราตั้งแต่บัดนั้น ด้วยพระดำรัสว่า
สุราเมรยปาเน ปาจิตฺติยํ แปลว่า (ภิกษุ) เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะดื่มสุราและเมรัย

ครั้นรุ่งขึ้น พระเถระมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ตามปกติแล้ว รู้สึกสลดใจ ต่อการกระทำ ของตน จึงเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา กราบทูลขอให้พระพุทธองค์ ทรงงดโทษให้แล้ว กราบทูลลา ปลีกตัวจากหมู่คณะ แสวงหาที่สงบสงัด บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระ อรหัตผล เป็นพระอเสขบุคคลในพระพุทธศาสนา

เมื่อท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ และในขณะนั้น พระสาคตเถระ ได้ทำหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐาก ได้มีชาว แคว้นอังคะจำนวนมาก เดินทางมาเพื่อเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ท่านได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ดำดินลงไป แล้วโผล่ขึ้นที่ตรงพระพักตร์ ของพระผู้มีพระภาค ซึ่งชาวอังคะทั้งหลาย ก็เห็นด้วย สายตาของตนเองโดยตลอด

พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระฌาณว่า ชาวแคว้นอังคะเหล่านั้น ยังไม่มีศรัทธาในพระ พุทธศาสนาอย่างทั่วถึง และมั่นคง จึงรับสั่งให้พระสาคตเถระ แสดงปาฏิหาริย์ ต่อไปอีก ด้วยการ แสดงการยืน เดิน นั่ง และนอนบนอากาศ ซึ่งพระเถระก็ได้แสดงอย่างชำนิชำนาญ และจบลง ด้วยการทำให้เกิดควันไฟ ออกจากกายของท่าน

ทรงยกย่องพระเถระในตำแหน่งเอตทัคคะ
ชาวแคว้นอังคะ ทั้งหลายต่างก็อัศจรรย์ในในความสามารถของพระเถระ คิดตรงกันว่า “ขนาดพระเถระผู้เป็นสาวก ยังมีความสามารถถึงเพียงนี้ แล้วพระบรมศาสดาผู้เป็นบรมครู จะมี ความสามารถถึงเพียงไหน” แล้วพากันกราบถวายบังคมด้วยความเคารพอย่างยิ่ง พระพุทธองค์ ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอนุปุพพิกาถา และอริยสัจ ๔ ให้ทุกคน ณ ที่ นั้น ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลโดยทั่วกัน

ลำดับนั้นพระบรมศาสดา จึงทรงประกาศยกย่องพระสาคตเถระ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ชำนาญเตโชสมาบัติ

ท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาสมควรแก่กาลเวลาแล้ว และอยู่จวบจนสิ้น อายุขัย ก็ดับขันธปรินิพพาน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- ประวัติพระสาคตเถระ หนึ่งในอสีติมหาสาวก (พระมหาสาวก ๘๐)


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก