หน้าหลัก พระสงฆ์ ตำแหน่งเอตทัคคะ พระราธเถระ
Search:

“ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ...
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ
..ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรอัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

หน้าแรก : หมวดพระสงฆ์
๑๙.พระราธเถระ เอตทัคคะในทางผู้ว่าง่าย

พระราธเถระ เป็นบุตรตระกูลพราหมณ์ ในเมืองราชคฤห์ ฐานะเดิมของท่านนั้นจัดว่า อยู่ในขั้นเศรษฐี มีทรัพย์สินเงินทองมาก แต่เมื่อย่างเข้าสู่วัยชราถูกภรรยาและบุตรธิดาทอดทิ้ง ต้องกลายเป็นคนยากจนอนาถา ที่พึ่งพาอาศัยต้องเลี้ยงชีพ ด้วยการอาศัยพระภิกษุอยู่ในวัด พระเวฬุวันมหาวิหาร

ต่อมา ราธพราหมณ์ มีศรัทธาปรารถนาจะบวช แต่ไม่มีภิกษุรูปใดที่จะสงเคราะห์บวช ให้ ทำให้เกิดความทุกข์ใจ ร่างกายซูบผอม หน้าตาผิวพรรณหม่นหมอง พระบรมศาสดาทอดพระ เนตรเห็นราธพราหมณ์ มีร่างกายผิดปกติอย่างนั้นแล้ว จึงได้ตรัสถาม ทราบความโดยตลอดแล้วรับ สั่งถาม ภิกษุผู้อยู่ในวัดพระเวฬุวันมหาวิหารว่า:-
“ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดระลึกถึงอุปการคุณ ของราธพราหมณ์ผู้นี้ได้บ้าง ?”

ขณะนั้น พระสารีบุตรเถระ ซึ่งอยู่ในที่ประชุมนั้นด้วย ได้กราบทูลว่า:-
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ระลึกได้ พระเจ้าข้า คือ วันหนึ่งข้าพระองค์ได้เข้า ไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ พราหมณ์ผู้นี้เคยถวายอาหารข้าวสุขแก่ข้าพระองค์ ทัพพีหนึ่ง พระเจ้าข้า”

ทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรม
พระบรมศาสดา ได้สดับแล้วตรัสยกย่องพระสารีบุตรเถระว่า เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที แล้วมอบราธพราหมณ์ ให้ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ ดำเนินการบวชให้ และทรงประกาศยกเลิกการ อุปสมบทด้วยวิธี ไตรสรณคมน์ ที่พระองค์ทรงอนุญาตไว้แต่เดิมแล้ว ทรงอนุญาตการอุปสมบท ด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรม อันเป็นวิธีอุปสมบท โดยมีสงฆ์เป็นใหญ่ พระสารีบุตรเถระ เป็นพระ อุปัชฌาย์รูปแรก และพระราธะเป็นภิกษุ ผู้ได้รับการอุปสมบทด้วยวิธีนี้เป็นรูปแรก การอุปสมบท ด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรมนี้ ได้ถือปฏิบัติสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

พระราธะ เมื่ออุปสมบทแล้ว วันหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลขอให้พระพุทธ องค์ตรัสสอนธรรม อันเป็นทางปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า:-
“ดูก่อนราธะ สิ่งใดเป็นมาร เธอจงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย สิ่งที่เรียกว่ามาร คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งเป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นของมิใช่ตัวตน มีความ เกิดขึ้น ดำรงอยู่ เปลี่ยนแปลง และสูญสิ้นไปเป็นธรรมดา ดังนั้น เธอจงละความพอใจในสิ่งอัน เป็นมารเหล่านั้นเสีย”

พระราธะ รับเอาพระโอวาทนั้นเป็นแนวทางปฏิบัติแล้วได้ติดตามพระสารีบุตรเถระ พระอุปัชฌาย์ไปตามสถานที่ต่าง ๆ ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัตผล พระพุทธองค์ตรัสถามว่า:-

“ดูก่อนสารีบุตร พระราธะสัทธิวิหาริยศิษย์ของเธอเป็นอย่างไรบ้าง ?”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เธอเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย แนะนำสั่งสอนตักเตือนอย่างไร ก็ ปฏิบัติตามแต่โดยดี ไม่เคยโกรธเคืองเลย พระเจ้าข้า”

ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย
พระบรมศาสดาทรงสดับแล้ว ตรัสสอนให้ภิกษุทั้งหลายถือเอาพระราธะเป็นแบบอย่าง ในการเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย และทรงยกย่องพระราธะในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้ง หลาย ในทางผู้ว่าง่าย และผู้มีปฏิภาณ คือ เป็นผู้มีความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมเทศนา ท่านพระราธเถระ ดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาพอสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ ดับขันธปรินิพพาน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :
- ประวัติพระราธเถระ หนึ่งในอสีติมหาสาวก (พระมหาสาวก ๘๐)


ย้อนกลับ ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
และ http://www.84000.org

ฟังธรรมะบรรยาย
(มากกว่า ๔,๐๐๐ ไฟล์)

อ่านพระไตรปิฎก
(คัมภีร์สำคัญทางพุทธศาสนา)
อ่านหนังสือธรรมะออนไลน์
(โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง)
วิธีปฏิบัติธรรม
(ธรรมะภาคปฏิบัติ)
 

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
     จุดหมายสูงสุด ของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุขหรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์
      ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่ติดใจหลงไหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ครอบงำ
        จิตใจของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูง ต่อๆ ไป จนบรรลุความเป็นอิสระ
        หลุดพ้นโดยบริบูรณ์
      ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้ว โดยที่ความสุขนั้น ไม่มีโอกาส
        ครอบงำจิตใจ ทำให้ติดพันหลงไหลได้เลย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หลักแห่งพระพุทธศาสนาโดยสรุป
     พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล
ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED
 
 
หน้าหลัก